แห่งที่ 2 รองรับเขตเศรษฐกิจชายเดนแม่สอด 5603 ไร่
25 ตุลาคม 2555 เปิดเวทีปฐมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม สะพานมิตรภาพไทย-พม่า ข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ 2 ครั้งแรก รับแผนพัฒนาเส้นทางคมนาคมเชื่อมไทย-พม่า และ AEC นายมงคล สัณฐิติวิฑูรย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดการประชุมปฐมนิเทศครั้งที่ 1 การศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามโครงการการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่า ข้ามแม่น้ำเมยแห่งที่ 2 แม่สอด-เมียวดี โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรมทางหลวง ด่านศุลกากรแม่สอด หน่วยงานด้านความมั่นคง ผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลแม่ปะและท่าสายลวด ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ๆเกี่ยวข้อง รวมทั้งนักธุรกิจภาคเอกชนหอการค้า สภาอุตสาหกรรม และประชาชน กว่า 300 คนเข้าร่วมประชุมที่โรงแรมเซ็นทาราแม่สอดฮิลล์รีสอร์ท อ.แม่สอด จ.ตาก เนื่องจากในปัจจุบันแม่สอดมีความจำเป็นต้องพัฒนาไปสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC ในฐานะเมืองหน้าด่านชายแดนไทย-พม่าที่มีศักยภาพ เชื่อมเส้นทางอีสต์เวตส์อีโคโนมิกคอร์ริดอร์ (EWEC) กับประเทศเพื่อนบ้าน และคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดได้เห็นชอบที่จะให้ก่อสร้างสะพานมิตรภาพฯ แห่งที่ 2 รองรับ AEC และเส้นทางโครงข่ายระหว่างไทย-พม่า เพื่อส่งเสริมการค้าชายแดน-การท่องเที่ยว และการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งกรมทางหลวงจะเปิดเวทีชี้แจงเพื่อการศึกษาประมาณ 1 ปี ก่อนนำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์และกำหนดแนวทางของโครงการให้มีระบบที่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่ ภูมิประเทศ และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ นายมงคลกล่าวว่า การก่อสร้างสะพานมิตรภาพฯ แห่งที่ 2 จะเชื่อมโยงระบบขนส่งและสินค้าระหว่างประเทศ และพัฒนาเพิ่มดุลการค้า สร้างรายได้ให้ภาคธุรกิจและประชาชนในพื้นที่ โดยการก่อสร้างตามโครงการดังกล่าวจะต้องให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมคิดและแสดงความคิดเห็นอย่างครอบคลุม การก่อสร้างสะพานแห่งที่ 2 จะสอดรับโครงการพัฒนาเส้นทางแม่สอด-เมียวดี-กอกาเรก ในพม่า ที่ขณะนี้อยู่ในระหว่างสัญญา 3 ปี และทางพม่าได้เร่งรัดให้ไทยดำเนินการให้เสร็จสิ้นเพื่อจะใช้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยวรองรับ AEC อีกด้วย กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม และบริษัทที่ปรึกษาของกรมทางฯ ประชุมชี้แจงโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทยพม่าแห่งที่สอง ที่เซนทารา ความว่าขณะนี้อยุ่ในขั้นตอนการศึกษาว่าจะทำถนนเชื่อมสะพานผ่านตรงไหนดีที่จะกระทบกับชาวบ้านและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่งขณะนี้มีสามทางเลือก รวมไปถึงสำรวจพื้นที่ส่วนที่จะต้องจ่ายค่าเวนคืนที่ดินชาวบ้าน สำหรับพื้นที่ก่อสร้างสะพานและถนนโครงข่าย ได้แก่ ต.ท่าสายลวดและ ต.แม่ปะ ซึ่งสอดคล้องกับพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด (ป่ามติครม.หมื่นกว่าไร่ ของกระทรวงพาณิชย์ ) ในส่วนของจุดสร้างสะพานแห่งที่สองกรมทางหลวงได้บันทึกความตกลงกับพม่าเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ต้นปี 2555 เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องระหว่างประเทศ และทางพม่าก็จะทำถนนมาเชื่อมกับสะพานนี้ด้วยและกำหนดเส้นทางไว้แน่นอนแล้วไม่ต้องศึกษาอะไรเหมือนไทยเรา ผู้แทนกรมทางกล่าวว่า คาดว่าปี2557 น่าจะได้เห็นเป็นรูปร่างหากรัฐบาลอนุมัติงบประมาณมา ส่วนแนวคิดโครงการสร้างสะพานคู่ขนานกับสะพานแห่งแรกและก่อสร้างส่วนราชการ-ลานจอดรถ ของเทศบาลนครแม่สอดนั้น ผู้แทนกรมทางหลวงและบริษัทที่ปรึกษาชี้แจงว่าไม่มีความเหมาะสมที่จะทำเพราะจะกระทบกับชุมชน ซึ่งแออัดมาก แต่ก็มีงบประมาณมาซ่อมแซมสะพานนี้อยู่แล้วเพื่อใช้เป็นเส้นทางการท่องเที่ยว ส่วนการขนส่งสินค้า คาร์ปาร์ค ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจากการศึกษาถึงความเหมาะสมต้องสร้างในพื้นที่ 5603ไร่ เพราะกระทบกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมน้อยมากๆ
สุรศักดิ์ พลอาชา (Artwork : หนังสือพิมพ์บ้านเรา) 081
727 9759
http://newstak.blogspot.com/ (เว็บบล็อกหนังสือพิมพ์บ้านเรา)
https://www.facebook.com/yadadesign (เฟสบุ๊คหนังสือพิมพ์บ้านเรา)
https://www.facebook.com/yadadesign.pollarchar (เฟสบุ๊คร้านญาดาดีไซน์/ส่วนตัว)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น