วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ด.ต.สมพร บุญคง นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลอุ้มผาง ได้มอบป้ายจราจร เครื่องหมาย อุปกรณ์สัญญาลักษณ์ต่างๆให้สถานีตำรวจภูธร

ด.ต.สมพร บุญคง นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลอุ้มผาง ได้มอบป้ายจราจร เครื่องหมาย อุปกรณ์สัญญาลักษณ์ต่างๆให้สถานีตำรวจภูธร




เพื่อในการนำไปวางตามท้องถนนในเขตเทศบาลตำบลอุ้มผาง เพื่อเป็นช่วยเหลือและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจราจร บนท้องถนน ให้แก่ผู้ขับขี่ยานพาหนะ มอบโดยวันที่ 12 ตุลาคม 2555 ณ ลานสำนักงานเทศบาลตำบลอุ้มผาง ความสำคัญของ ป้าย ก็พอๆกับไปจราจรในยามเร่งด่วนนั่นแหละครับลองนึกดูนะครับว่าถ้าสี่แยกไม่มีสัญญาณไฟจราจร หรือไม่มีจราจรโบกรถให้ล่ะก็ใครก็จะแย่งกันไปก่อนทั้งนั้น ป้ายจราจรก็เหมือนกันถ้าไม่มีใครก็ขับกันแบบตามใจฉัน เพราะฉะนั้นความสำคัญของป้ายจราจรก็คือรักษาความเป็นระเบียบบนท้องถนนนั่นเอง นอกจากนี้ยังเป็นการลดอุบัติเหตุ ปลูกฝังวินัยในการขับขี่ที่ดีจนไปถึงความมีน้ำใจ ช่วยให้การเดินทางหรือท่องเที่ยวมีความสุขยิ่งขึ้น อันนี้สำคัญครับ บางครั้งใครๆก็จะเมมโมรี่ไว้ว่าบนถนนต้องเครียดไว้ก่อนนี่ไม่จริงนะครับถ้าเราร่วมมือกันรักษาวินัยการจราจรให้ความสำคัญกับป้ายจราจรทุกประเภทและปฏิบัติตามร่วมกัน การใช้รถใช้ถนนก็มีความสุขครับ

สุรศักดิ์ พลอาชา (Artwork : หนังสือพิมพ์บ้านเรา) 081 727 9759
http://newstak.blogspot.com/ (เว็บบล็อกหนังสือพิมพ์บ้านเรา)
https://www.facebook.com/yadadesign (เฟสบุ๊คหนังสือพิมพ์บ้านเรา)
https://www.facebook.com/yadadesign.pollarchar (เฟสบุ๊คร้านญาดาดีไซน์/ส่วนตัว)


นายเกษมสันต์ คำพุฒ นายกเทศมนตรีตำบลไม้งาม คณะผู้บริหาร หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาล มอบอุปกรณ์ แก่ สถานีตำรวจทางหลวง จังหวัดตาก





นายเกษมสันต์ คำพุฒ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลไม้งาม กล่าว่าความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจทางหลวงต้องมีความพร้อมในการปฏิบัติดังต่อไปนี้ 1. ด้านความรู้ความชำนาญเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย ความสามารถต่อสู้ป้องกันตัวตามยุทธวิธีตำรวจ และความรู้กฎหมายที่ จำเป็นในการปฏิบัติงาน 2. ด้านขวัญและกำลังใจเรียงจากมากไปหาน้อย คือ การพิจารณาความดีความชอบในระบบ คุณธรรม เงินเดือนที่ได้รับ และสวัสดิการที่ได้รับ 3. ด้านวัสดุอุปกรณ์และยานพาหนะ เรียงจากมากไปหาน้อยคือ ความพร้อมด้านวัสดุ อุปกรณ์และยานพาหนะของหน่วยงานให้ใช้เพียงพอ ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ในการนำไปใช้ ปฏิบัติหน้าที่และความทันสมัยของอุปกรณ์ 4. ด้านหน้าที่ความรับผิดชอบ เรียงจากมากไปหาน้อยคือ ความพอใจในหน้าที่ที่ได้ รับมอบหมาย ตำรวจในสังกัดมีความร่วมมือในการทำงานและมีการประสานงานกันดี มีกำลังพล เพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่ และมีการประสานงานกับตำรวจหน่วยอื่นได้ดี 5. ความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ พ.ร.บ.ทางหลวงอยู่ในระดับปานกลาง 6. ความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ประมวลกฎหมายอาญาอยู่ในระดับปานกลาง 7. กลุ่มตัวอย่างที่มีความแตกต่างกันทางด้านอายุ อายุราชการ สถานภาพการสมรส ระยะเวลาปฏิบัติหน้าที่ในกองตำรวจทางหลวง ขวัญและกำลังใจ และภูมิหลังด้านความ รับผิดชอบในการปฏิบัติงาน มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ทางหลวงต่างกัน 8. กลุ่มตัวอย่างที่มีความแตกต่างกันทางด้านอายุราชการ สถานภาพการสมรส รายได้ รวมของครอบครัว และภูมิหลังด้านความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน มีความพร้อมในการ ปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญาต่างกัน ผู้วิจัยเสนอแนะว่า ควรคัดเลือกเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นโสด ปฏิบัติงานในทางหลวง เนื่องจากต้องใช้เวลาปฏิบัติงานมาก ซึ่งบุคคลที่มีครอบครัวแล้วจะทำให้ไม่สะดวกในการ ปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงมีการหมุนเวียน เพื่อให้ได้เปลี่ยน สภาพการทำงาน ทำให้ไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการปฏิบัติงาน และควรมีการให้ผลตอบแทน และขวัญกำลังใจ แก่ผู้ปฏิบัติงานบนทางหลวง เพื่อให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน อย่างสูงสุดนายเกษมสันต์ คำพุฒ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลไม้งาม กล่าว่าความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจทางหลวงต้องมีความพร้อมในการปฏิบัติดังต่อไปนี้ 1. ด้านความรู้ความชำนาญเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย ความสามารถต่อสู้ป้องกันตัวตามยุทธวิธีตำรวจ และความรู้กฎหมายที่ จำเป็นในการปฏิบัติงาน 2. ด้านขวัญและกำลังใจเรียงจากมากไปหาน้อย คือ การพิจารณาความดีความชอบในระบบ คุณธรรม เงินเดือนที่ได้รับ และสวัสดิการที่ได้รับ 3. ด้านวัสดุอุปกรณ์และยานพาหนะ เรียงจากมากไปหาน้อยคือ ความพร้อมด้านวัสดุ อุปกรณ์และยานพาหนะของหน่วยงานให้ใช้เพียงพอ ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ในการนำไปใช้ ปฏิบัติหน้าที่และความทันสมัยของอุปกรณ์ 4. ด้านหน้าที่ความรับผิดชอบ เรียงจากมากไปหาน้อยคือ ความพอใจในหน้าที่ที่ได้ รับมอบหมาย ตำรวจในสังกัดมีความร่วมมือในการทำงานและมีการประสานงานกันดี มีกำลังพล เพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่ และมีการประสานงานกับตำรวจหน่วยอื่นได้ดี 5. ความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ พ.ร.บ.ทางหลวงอยู่ในระดับปานกลาง 6. ความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ประมวลกฎหมายอาญาอยู่ในระดับปานกลาง 7. กลุ่มตัวอย่างที่มีความแตกต่างกันทางด้านอายุ อายุราชการ สถานภาพการสมรส ระยะเวลาปฏิบัติหน้าที่ในกองตำรวจทางหลวง ขวัญและกำลังใจ และภูมิหลังด้านความ รับผิดชอบในการปฏิบัติงาน มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ทางหลวงต่างกัน 8. กลุ่มตัวอย่างที่มีความแตกต่างกันทางด้านอายุราชการ สถานภาพการสมรส รายได้ รวมของครอบครัว และภูมิหลังด้านความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน มีความพร้อมในการ ปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญาต่างกัน ผู้วิจัยเสนอแนะว่า ควรคัดเลือกเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นโสด ปฏิบัติงานในทางหลวง เนื่องจากต้องใช้เวลาปฏิบัติงานมาก ซึ่งบุคคลที่มีครอบครัวแล้วจะทำให้ไม่สะดวกในการ ปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงมีการหมุนเวียน เพื่อให้ได้เปลี่ยน สภาพการทำงาน ทำให้ไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการปฏิบัติงาน และควรมีการให้ผลตอบแทน และขวัญกำลังใจ แก่ผู้ปฏิบัติงานบนทางหลวง เพื่อให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน อย่างสูงสุด


สุรศักดิ์ พลอาชา (Artwork : หนังสือพิมพ์บ้านเรา) 081 727 9759
http://newstak.blogspot.com/ (เว็บบล็อกหนังสือพิมพ์บ้านเรา)
https://www.facebook.com/yadadesign (เฟสบุ๊คหนังสือพิมพ์บ้านเรา)
https://www.facebook.com/yadadesign.pollarchar (เฟสบุ๊คร้านญาดาดีไซน์/ส่วนตัว)

สสจ.ตาก-เมียวดี เปิดโต๊ะหารือร่วมมือด้านสาธารณสุขชายแดน

       ตาก-สาธารณสุขไทย -พม่า ประชุมความร่วมมือด้านสาธารณสุข เตรียมพร้อมด้านสุขภาพรองรับ AEC
       
       นายแพทย์ปัจจุบัน เหมหงษา นายแพทย์สารธารณสุขจังหวัดตาก พร้อมคณะได้ประชุมร่วมกับนายวินหน่าย หัวหน้าสาธารณสุขจังหวัดเมียวดี และนายมิตติ่น ผู้ว่าราชการจังหวัดเมียวดี ประเทศพม่า ที่ห้องประชุมเพชรชมพู โรงพยาบาลแม่สอด อ.แม่สอด จ. ตาก เพื่อร่วมมือด้านสาธารณสุขและเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน AEC ในปี พ.ศ 2558
       
       นายแพทย์ปัจจุบันกล่าวว่า สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินงานพัฒนางานสาธารณสุขชายแดนให้เป็นไปตามแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานสาธารณสุขชายแดนฉบับที่ 1 ที่เริ่มมาตั้งแต่พุทธศักราช 2550 และปัจจุบันอยู่ในช่วงดำเนินงานของแผนแม่บทชายแดนฉบับที่ 2
       
       ทั้งนี้ มีเป้าหมายให้ประชาชนที่บริเวณชายแดนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสอดคล้องกับการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปีพุทธศักราช 2558 และให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะจากที่ประชุม “Myanmar- Thailand Collaboration Wokshop on Disease Sureillance, preventionnad Control at Border Areas” ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า เมื่อปีที่แล้ว

สุรศักดิ์ พลอาชา (Artwork : หนังสือพิมพ์บ้านเรา) 081 727 9759
http://newstak.blogspot.com/ (เว็บบล็อกหนังสือพิมพ์บ้านเรา)
https://www.facebook.com/yadadesign (เฟสบุ๊คหนังสือพิมพ์บ้านเรา)
https://www.facebook.com/yadadesign.pollarchar (เฟสบุ๊คร้านญาดาดีไซน์/ส่วนตัว)

ดร.สรรพสิริ อรชัยธ์ลาภ

ดร.สรรพสิริ อรชัยธ์ลาภ
คอลัมน์: ดุลยภาพ ดุลยพินิจ: อนาคตแรงงานพม่า หลังการปฏิรูปฯ

          สราวุธ ไพฑูรย์พงษ์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
          การปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองของพม่าในช่วงปีกว่าที่ผ่านมา รวมทั้งกระแสการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 บวกกับการปล่อยตัว นางออง ซาน ซูจี และการเดินสายของเธอมาประเทศไทยเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมศกนี้ ทำให้วงการธุรกิจ ตลาดแรงงาน ตลอดจนหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทย เริ่มมีคำถามว่าหลังจากนี้แรงงานพม่าจะกลับบ้านกันหมดหรืออย่างไร
          แรงงานพม่าเข้ามาทำมาหากินในประเทศไทยอย่างเป็นเรื่องเป็นราวตั้งแต่ปี 2531 ซึ่งตอนนั้นนายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ มีนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า และยอมให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานได้ หลังจากเดิมไทยต้องเผชิญหน้ากับประเทศเพื่อนบ้านอยู่ตลอดเวลา
          ณ วันนี้ มีแรงงานพม่าในประเทศไทยประมาณ 2.3 ล้านคน ประกอบด้วยแรงงานที่ได้ขึ้นทะเบียนผ่อนผัน 9 แสนกว่าคน ชนกลุ่มน้อย 2,400 คน แรงงานที่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติแล้ว 4 แสนคน แรงงานนำเข้าโดยตรง 8 พันคน และแรงงานที่ได้รับใบอนุญาตทำงานประเภททั่วไปอีกพันกว่าคน บวกกับแรงงานพม่าเข้าเมืองผิดกฎหมายแต่ไม่มารายงานตัวขึ้นทะเบียนอีกไม่ทราบจำนวน แต่เดากันว่าประมาณไม่น้อยกว่า 1 ล้านคน
          แรงงานทั้งหมดนี้เป็นกำลังสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ถ้าแรงงานพม่ากลับไปหมด ประเทศไทยก็คงเดือดร้อนพอสมควร
          แรงงานพม่าจะกลับบ้านหรือไม่ เร็วช้าประการใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองของพม่า
          การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของพม่า คือการเลือกตั้งทั่วไปที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2553 นับเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกของพม่าในรอบ 20 ปี ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งได้ประกาศใช้เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2551 โดยสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council : SPDC) เดิมชื่อ สภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ หรือสล็อร์ก (SLORC)
          ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคสหภาพเอกภาพและการพัฒนา (หรือพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา - Union Solidarity and Development Party : USDP) ได้รับชัยชนะ และพลเอกเต็ง เส่ง หัวหน้าพรรคได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เป็นประธานาธิบดีจากฝ่ายพลเรือนคนแรกภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร ซึ่งครองประเทศมาเป็นเวลากว่า 50 ปี (นายพลเต็ง เส่งเคยเป็นนายกรัฐมนตรีของพม่า ระหว่าง พ.ศ.2550-2554)
          ปีที่แล้ว ประธานาธิบดีเต็ง เส่งได้ประกาศนโยบายปฏิรูปประเทศ ซึ่งประกอบด้วยการปราบคอร์รัปชั่น การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน การออกกฎหมายการลงทุนของชาวต่างชาติและการเก็บภาษี การลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มจาก 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2552-2553 เป็น 2 หมื่นล้านเหรียญ ในปี 2553-2554 หรือเท่ากับเพิ่มขึ้น 667 เปอร์เซ็นต์ การไหลเข้าของทุนนอกมหาศาลทำให้ค่าเงินจ๊าดแข็งขึ้นประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ รัฐบาลได้แก้ไขสถานการณ์โดยลดความเข้มงวดการนำเข้า พร้อมกับยกเลิกภาษีขาออก พม่าคุยว่าในปี 2554 เศรษฐกิจโตขึ้นร้อยละ 8.8
          ขณะเดียวกัน นางออง ซาน ซูจี ได้รับเลือกตั้งซ่อมเมื่อเดือนเมษายน 2553 และได้รับการปล่อยตัวเมื่อ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2553
          นอกจากนี้การปฏิรูปฯยังมีโครงการท่าเรือน้ำลึกที่ทวายมูลค่า 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (1.8 ล้านล้านบาท) ซึ่งฮือฮาว่าจะสร้างงานได้มหาศาล มีแผนการและนโยบายให้ธนาคารต่างชาติเข้าไปลงทุนในพม่าได้ในปี 2558 มีกฎหมายส่งเสริมการลงทุนที่กำลังจะคลอด และนโยบายค่าเงินจ๊าดลอยตัว
          เรื่องดีๆ ที่ตามมา เช่น สหรัฐผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรพม่า ล่าสุด เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2555 สหรัฐประกาศคลายข้อจำกัดด้านการลงทุนของนักลงทุนสหรัฐในพม่า สหภาพยุโรปประกาศระงับการคว่ำบาตร (ยกเว้นด้านอาวุธ) ระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม 2555 ถึง 30 เมษายน 2556
          เมื่อเดือนมีนาคมศกนี้ พม่าได้ร่างกฎหมายการลงทุนของต่างชาติฉบับแรกในช่วงกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา กฎหมายฉบับนี้เปิดกว้างมากขึ้น นักลงทุนต่างชาติไม่ต้องมีหุ้นส่วนชาวพม่า และสามารถเช่าที่ดินระยะยาวได้ แต่ก็ยังระบุว่าต้องจ้างแรงงานพม่าไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 และต่อมาให้เพิ่มสัดส่วนเป็นร้อยละ 50-75 เมื่อแรงงานมีการพัฒนาฝีมือมากขึ้น
          นอกจากนั้น เอดีบีก็ได้กลับเข้าไปให้ความช่วยเหลือด้านการเงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไอเอ็มเอฟ เริ่มเข้าไปช่วยวิเคราะห์เศรษฐกิจหลังจากการเข้าไปครั้งสุดท้ายเมื่อ 13 ปีก่อน รวมทั้งนานาประเทศก็ตื่นเต้นกับการปฏิรูปพม่าพอดู
          อนาคตของพม่าดูสดใส
          แต่ ช้าก่อน
          ยังมีอีกผู้สันทัดกรณีอีกหลายคนที่มองพม่าด้วยความเป็นห่วง โดยรวมๆ คือการปรับตัวเป็นเศรษฐกิจแบบตลาดของพม่าคงยังไม่ค่อยราบรื่น โดยชี้ว่ากระแสการปฏิรูปยังอยู่แค่ย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ แต่ในเมืองรอบนอกยังมีกลุ่มผลประโยชน์ที่ยังต่อต้านการเปลี่ยนแปลงอยู่ วงการทูตของประเทศตะวันตกก็มองพม่าด้วยความเป็นห่วงว่าการปฏิรูปของพม่าจะมีการ กลับหลังหันหรือไม่ ที่สำคัญ ชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช่พม่าซึ่งอยู่ในภาคอื่นๆ มากมายนั้น เขาไม่แน่ใจว่ามีการปฏิรูปด้วยซ้ำ (พม่ามีชาติพันธุ์พม่า 63% ที่เหลือเป็นไทยใหญ่ มอญ ยะไข่ กะเหรี่ยง คะฉิ่น ไทย ชิน และอื่นๆ มีภาษาหลักที่ใช้ 18 ภาษา)
          ไทยใหญ่ในรัฐฉานซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดของพม่า ไทยใหญ่มีทรัพยากร เช่น ไม้สัก และแร่ ธาติมากมาย และเป็นรัฐเชื่อมต่อทำการค้าระหว่างพม่ากับจีน พื้นที่เศรษฐกิจส่วนนี้ยังมีปัญหาคอร์รัปชั่นและความบิดเบี้ยวของระบบเศรษฐกิจพม่า ซึ่งเกิดจากทหารพม่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ล่าเสี้ยว (ประมาณ 200 กม. จากมัณฑะเลย์) ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทัพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทหารที่ตั้งอยู่ที่นี่ส่วนใหญ่เป็นพม่าต้องสู้รบกับการก่อการร้ายไทยใหญ่เป็นเวลานับ 10 ปี และได้มีการลงนามในสัญญาหยุดยิงไปเมื่อเดือนมกราคมแต่ก็ไม่ได้ทำตามสัญญา
          ที่รัฐฉานทหารพม่าทำไร่ ทำนาเอง โดยบังคับให้ชาวบ้านทำให้ ที่ป่าหรือไร่นายังเป็นของทหาร แต่ละเมือง (จังหวัด) จะมีกองทหารพม่าประจำอยู่ทางเข้าและทางออก สำหรับด้านที่ไม่มีกองทหารตั้งทัพอยู่ก็จะเกณฑ์ให้ชาวบ้านสร้างรั้วล้อมรอบเขตชานเมืองทุกด้าน ทางเข้าและทางออกจะมีด่านตรวจ และมีการเปิด-ปิดเป็นเวลา ด้านที่ไม่มีทหารอยู่ ประชาชนต้องทำด่านไว้ แล้วก็สับเปลี่ยนกันวันละบ้านไปเฝ้าเป็นยามตลอด 24 ชั่วโมง แต่ละเมืองจะมีการเปิดบ่อนการพนันและหวยอย่างเสรี ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยต้องส่งบำเหน็จให้ทหาร
          นอกจากการรีดไถโดยตรงแล้ว ยังมีบังคับขายสินค้าที่ทหารผลิตในราคาสูงกว่าตลาด ตัวอย่างเช่น ฟาร์มไก่ของทหารที่ล่าเสี้ยว รถค้าไก่จากที่อื่นเข้ารัฐฉานจะถูกไล่กลับ เพื่อให้ราคาไก่ของทหารที่ล่าเสี้ยวตั้งราคาได้สูงๆ
          ที่แย่ไปกว่านั้นคือ ทหารพม่ามีเอี่ยวในการปลูกและจำหน่ายฝิ่นในพื้นที่ดังกล่าว เมื่อได้รับการกดดันจากสหรัฐ จีน และไทยก็ร่วมมือกับกองกำลังทหารประชาชน (People's Militia Forces : PMFs) ปลูกฝิ่นมากขึ้นแต่ย้ายไปไกลตามากขึ้น รวมทั้งมีการเลือกปฏิบัติในการตรวจจับการขนฝิ่น โดยจับแต่พวกที่ไม่ใช่ PMFs 
          ไม่แต่เท่านั้น ยังมีการตัดโค่นไม้สักส่งไปจีน โดยความร่วมมือของทหารจนป่าไม้บริเวณดังกล่าวโกร๋นเหมือนโดนปัตตะเลี่ยนยักษ์ไถ
          อีกรัฐหนึ่งคือ รัฐยะไข่ ที่ดังไปทั่วโลกเมื่อต้นเดือนมิถุนายนนี้ เพราะปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวพุทธกับโรฮิงญา ชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ เกิดจลาจลเผาทำลาย มีโรฮิงญาถูกฆ่าจำนวนมาก รวมทั้งปัญหาเชื้อชาติในรัฐนี้ที่เรื้อรังมานาน และรัฐบาลพม่ายังไม่สามารถแก้ไขได้

          สำหรับโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายมูลค่า 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (1.8 ล้านล้านบาท) ซึ่งฮือฮาว่าจะสร้างงานได้มหาศาลนั้น เป็นโครงการ 60 ปี แบบสร้าง บริหาร และถ่ายโอนให้รัฐ ซึ่งบริษัทอิตัลไทย ดีเวลลอปเม็นต์ ประมูลได้เมื่อปี 2553 จะสร้างบนพื้นที่ 250 ตารางกิโลเมตร การสร้างท่าเรือดังกล่าวยังอยู่ในขั้นวางแผน โดยในระยะแรกจะเป็นการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและใช้ทุน 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งต้องเริ่มจากศูนย์เพราะพม่าไม่มีอะไรเลย ตามข่าวว่าขณะนี้ยังไม่มีการลงมือสร้างแต่อย่างใด เพราะผู้รับเหมายังหาแหล่งเงินกู้ไม่ได้ แต่บริษัทผู้รับเหมาได้แถลงว่าได้แหล่งเงินกู้แล้วแต่บอกไม่ได้ว่าเป็นที่ใด
          พม่ายังมีปัญหาอีกมาก ที่สำคัญคือฝ่ายทหารที่เคยเรืองอำนาจอยู่ว่าจะหันมาทวงอำนาจคืนหรือไม่ รวมทั้งจุดอ่อนของนางออง ซาน ซูจี นางเอกของพม่าที่ไม่กล้าแสดงจุดยืนชนกลุ่มน้อยเช่นโรฮิงญาได้
          กรุงโรมไม่ได้สร้างได้ในวันเดียว
สรุปว่า แรงงานพม่ายังไม่ได้กลับบ้านง่ายๆ
--จบ--

          --มติชน ฉบับวันที่ 25 ก.ค. 2555 (กรอบบ่าย)--


.....มติชน

สุรศักดิ์ พลอาชา (Artwork : หนังสือพิมพ์บ้านเรา) 081 727 9759
http://newstak.blogspot.com/ (เว็บบล็อกหนังสือพิมพ์บ้านเรา)
https://www.facebook.com/yadadesign (เฟสบุ๊คหนังสือพิมพ์บ้านเรา)
https://www.facebook.com/yadadesign.pollarchar (เฟสบุ๊คร้านญาดาดีไซน์/ส่วนตัว)




นายสุริยัน ทิพย์สุวรรณ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาโบสถ์

นายสุริยัน ทิพย์สุวรรณ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาโบสถ์ กล่าวว่า
สืบเนื่องจากรัฐบาลโดยกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี       ได้ร่วมกันจัดทำโครงการประชาอาสาปลูกป่า 800 ล้านกล้า 80 พรรษา มหาราชินี ซึ่งกำหนดปลูกป่าระยะ 5 ปี พ.ศ. 2555 – 2559 จำนวน 800 ล้านกล้า และในปี 2555 กำหนดปลูกป่า จำนวน 20 ล้านกล้า การปลูกป่าภายใต้โครงการนี้ ให้นำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ให้ยึดหลัก คำ 4 คำ คือ น้อมนำ ปฏิบัติ ป้องกัน และรักษา ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นเจ้าภาพหลักในการบูรณาการการดำเนินโครงการ และให้ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปลูก การดูแลรักษา การใช้ประโยชน์  โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ประการแรก เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 12 สิงหาคม 2555 ประการที่สอง เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าในพื้นที่ต้นน้ำและพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศประการสุดท้าย เพื่อสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ เป้าหมายพื้นที่การปลูกป่าของจังหวัดตาก ในปี 2555 จำนวน 2,000 ไร่ จำนวนกล้าไม้ 400,000 กล้า ในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง และลุ่มน้ำวัง  ครอบคลุมพื้นที่ อำเภอเมืองตาก บ้านตาก สามเงา พบพระ และวังเจ้า ซึ่งทุกพื้นที่ของจังหวัดตาก และจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศที่มีการปลูกป่าตามโครงการดังกล่าวพร้อมกันในวันที่   8  สิงหาคม  2555 สำหรับพื้นที่การปลูกป่าของอำเภอวังเจ้า  ในวันนี้เป็นพื้นที่สาธารณะ บ้านวังตำลึง  หมู่ที่ 5 ตำบลนาโบสถ์  อำเภอวังเจ้า  ประกอบด้วย สะเดา สัก ตะแบก ยางนา แดง พยุง เป็นต้น

สุรศักดิ์ พลอาชา (Artwork : หนังสือพิมพ์บ้านเรา) 081 727 9759
http://newstak.blogspot.com/ (เว็บบล็อกหนังสือพิมพ์บ้านเรา)
https://www.facebook.com/yadadesign (เฟสบุ๊คหนังสือพิมพ์บ้านเรา)
https://www.facebook.com/yadadesign.pollarchar (เฟสบุ๊คร้านญาดาดีไซน์/ส่วนตัว)
รับทำ : บล็อก / เฟสบุ๊ค / แฟนเพจ / เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร / กลุ่มต่างๆ / อบต. ต่างๆ 
ใช้งานได้เหมือนเว็บไซด์ทั่วไปครับ



นายกฝอวางแนวถนนอ้อมเมืองและผังเมืองใหม่‏


นายกฝอวางแนวถนนอ้อมเมืองและผังเมืองใหม่‏
นายกฝอ  ประชุมกับทีมงานที่ปรึกษากระทรวงคมนาคม วางแนวผังเมืองและถนนอ้อมเมืองใหม่  เชื่อมโยงรองรับจุดก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่า แห่งที่ 2 ที่ห้องทำงานนายกเทศมนตรีนครแม่สอด จังหวัดตาก นายเทอดเกียรติ ชินสรนันท์ (นายกฝอ) นายกเทศมนตรีนครแม่สอด-พร้อมคณะผู้บริหาร รองนายกเทศมนตรี-เลขานุการนายกเทศมนตรี ได้ประชุมร่วมกับทีมงานที่ปรึกษากระทรวงคมนาคม เพื่อวางแนวถนนกรมทางหลวงชนบทและถนนกรมทางหลวง เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกันในระบบคมนาคมทางบกในพื้นที่ชายแดน อ.แม่สอด รวมทั้งการวางแนวผังเมืองใหม่และถนนตัดใหม่อ้อมเมือง รองรับการเป็นเมืองหน้าด่านประตูการค้าชายแดนของ อ.แม่สอด ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AECนอกจากนี้ ทางผู้บริหารนครแม่สอดและคณะที่ปรึกษากระทรวงคมนาคม ยังได้วางแนวและกำหนดจุดเบื้องต้นตามโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่า แห่งที่ 2 บริเวณบ้านวังตะเคียน ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด เพื่อให้ถนนที่จะสร้างใหม่นั้นรองรับกับจุดที่จะดำเนินการก่อสร้างสะพานมิตรภาพฯ นอกจากนี้ยังได้มีแผนกำหนดจุดโครงการก่อสร้างอาคารด่านศุลกากรแม่สอด และแนวก่อสร้างสะพานคู่ขนานกับสะพานมิตรภาพแห่งที่ 1 อีก 2 ฝั่งซ้ายขวาอีกด้วย เพื่อขยายช่องทางจราจรของสะพานโดยแบ่งช่องทางให้รถบรรทุกขนาดใหญ่และรถบรรทุกขนาดเล็ก รวมทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล วิ่งเส้นทางบนสะพานมิตรภาพ ไม่ทับซ้อนกัน ปัจจุบันแม่สอดมีความจำเป็นต้องพัฒนาไปสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC  ในฐานะประตูและเมืองหน้าด่านชายแดนไทย-พม่าที่มีศักยภาพ เชื่อมเส้นทางอิสเวตส์อิโคโนมิคคอริดอร์ EWEC กับประเทศ2 รองรับ AECและเส้นทางระหว่างไทย-พม่า เพื่อส่งเสริมการค้าชายแดน-การท่องเที่ยวและการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ




สุรศักดิ์ พลอาชา (Artwork : หนังสือพิมพ์บ้านเรา) 081 727 9759
http://newstak.blogspot.com/ (เว็บบล็อกหนังสือพิมพ์บ้านเรา)
https://www.facebook.com/yadadesign (เฟสบุ๊คหนังสือพิมพ์บ้านเรา)
https://www.facebook.com/yadadesign.pollarchar (เฟสบุ๊คร้านญาดาดีไซน์/ส่วนตัว)
รับทำ : บล็อก / เฟสบุ๊ค / แฟนเพจ

กรมทางฯ และบริษัทที่ปรึกษา ลงพื้นที่แม่สอด ชี้แจงโครงการ ก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่า แห่งที่ 2 รองรับเขตเศรษฐกิจชายเดนแม่สอด 5603 ไร่


กรมทางฯ และบริษัทที่ปรึกษา ลงพื้นที่แม่สอด ชี้แจงโครงการ ก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่า
แห่งที่ 2 รองรับเขตเศรษฐกิจชายเดนแม่สอด 5603 ไร่
25 ตุลาคม 2555 เปิดเวทีปฐมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม สะพานมิตรภาพไทย-พม่า ข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ 2 ครั้งแรก รับแผนพัฒนาเส้นทางคมนาคมเชื่อมไทย-พม่า และ AEC  นายมงคล สัณฐิติวิฑูรย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดการประชุมปฐมนิเทศครั้งที่ 1 การศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามโครงการการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่า ข้ามแม่น้ำเมยแห่งที่ 2 แม่สอด-เมียวดี โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรมทางหลวง ด่านศุลกากรแม่สอด หน่วยงานด้านความมั่นคง ผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลแม่ปะและท่าสายลวด ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ๆเกี่ยวข้อง รวมทั้งนักธุรกิจภาคเอกชนหอการค้า สภาอุตสาหกรรม และประชาชน กว่า 300 คนเข้าร่วมประชุมที่โรงแรมเซ็นทาราแม่สอดฮิลล์รีสอร์ท อ.แม่สอด จ.ตาก เนื่องจากในปัจจุบันแม่สอดมีความจำเป็นต้องพัฒนาไปสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC ในฐานะเมืองหน้าด่านชายแดนไทย-พม่าที่มีศักยภาพ เชื่อมเส้นทางอีสต์เวตส์อีโคโนมิกคอร์ริดอร์ (EWEC) กับประเทศเพื่อนบ้าน และคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดได้เห็นชอบที่จะให้ก่อสร้างสะพานมิตรภาพฯ แห่งที่ 2 รองรับ AEC และเส้นทางโครงข่ายระหว่างไทย-พม่า เพื่อส่งเสริมการค้าชายแดน-การท่องเที่ยว และการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งกรมทางหลวงจะเปิดเวทีชี้แจงเพื่อการศึกษาประมาณ 1 ปี ก่อนนำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์และกำหนดแนวทางของโครงการให้มีระบบที่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่ ภูมิประเทศ และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ นายมงคลกล่าวว่า การก่อสร้างสะพานมิตรภาพฯ แห่งที่ 2 จะเชื่อมโยงระบบขนส่งและสินค้าระหว่างประเทศ และพัฒนาเพิ่มดุลการค้า สร้างรายได้ให้ภาคธุรกิจและประชาชนในพื้นที่ โดยการก่อสร้างตามโครงการดังกล่าวจะต้องให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมคิดและแสดงความคิดเห็นอย่างครอบคลุม การก่อสร้างสะพานแห่งที่ 2 จะสอดรับโครงการพัฒนาเส้นทางแม่สอด-เมียวดี-กอกาเรก ในพม่า ที่ขณะนี้อยู่ในระหว่างสัญญา 3 ปี และทางพม่าได้เร่งรัดให้ไทยดำเนินการให้เสร็จสิ้นเพื่อจะใช้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยวรองรับ AEC อีกด้วย กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม และบริษัทที่ปรึกษาของกรมทางฯ ประชุมชี้แจงโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทยพม่าแห่งที่สอง ที่เซนทารา ความว่าขณะนี้อยุ่ในขั้นตอนการศึกษาว่าจะทำถนนเชื่อมสะพานผ่านตรงไหนดีที่จะกระทบกับชาวบ้านและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่งขณะนี้มีสามทางเลือก รวมไปถึงสำรวจพื้นที่ส่วนที่จะต้องจ่ายค่าเวนคืนที่ดินชาวบ้าน สำหรับพื้นที่ก่อสร้างสะพานและถนนโครงข่าย ได้แก่ ต.ท่าสายลวดและ ต.แม่ปะ ซึ่งสอดคล้องกับพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด (ป่ามติครม.หมื่นกว่าไร่ ของกระทรวงพาณิชย์ ) ในส่วนของจุดสร้างสะพานแห่งที่สองกรมทางหลวงได้บันทึกความตกลงกับพม่าเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ต้นปี 2555 เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องระหว่างประเทศ และทางพม่าก็จะทำถนนมาเชื่อมกับสะพานนี้ด้วยและกำหนดเส้นทางไว้แน่นอนแล้วไม่ต้องศึกษาอะไรเหมือนไทยเรา ผู้แทนกรมทางกล่าวว่า คาดว่าปี2557 น่าจะได้เห็นเป็นรูปร่างหากรัฐบาลอนุมัติงบประมาณมา ส่วนแนวคิดโครงการสร้างสะพานคู่ขนานกับสะพานแห่งแรกและก่อสร้างส่วนราชการ-ลานจอดรถ ของเทศบาลนครแม่สอดนั้น ผู้แทนกรมทางหลวงและบริษัทที่ปรึกษาชี้แจงว่าไม่มีความเหมาะสมที่จะทำเพราะจะกระทบกับชุมชน ซึ่งแออัดมาก แต่ก็มีงบประมาณมาซ่อมแซมสะพานนี้อยู่แล้วเพื่อใช้เป็นเส้นทางการท่องเที่ยว ส่วนการขนส่งสินค้า คาร์ปาร์ค ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจากการศึกษาถึงความเหมาะสมต้องสร้างในพื้นที่ 5603ไร่ เพราะกระทบกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมน้อยมากๆ




สุรศักดิ์ พลอาชา (Artwork : หนังสือพิมพ์บ้านเรา) 081 727 9759
http://newstak.blogspot.com/ (เว็บบล็อกหนังสือพิมพ์บ้านเรา)
https://www.facebook.com/yadadesign (เฟสบุ๊คหนังสือพิมพ์บ้านเรา)
https://www.facebook.com/yadadesign.pollarchar (เฟสบุ๊คร้านญาดาดีไซน์/ส่วนตัว)

วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

งาม ตากมอเตอร์เอ็กโป Tak Motor expo งาน แม่สอดมอเตอร์โชว์ Maesod Motor Show


จองบู๊ต จำหน่ายสินค้า โทร.082-5126688
                                        081 727 9759
                                        083-8797975

เวทีสัมมนาผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ ระดับภูมิภาค วันที่ ๓ – ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ณ โรงแรมท็อปแลนด์ จ.พิษณุโลก

เวทีสัมมนาผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ ระดับภูมิภาค
วันที่ ๓ – ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ณ โรงแรมท็อปแลนด์ จ.พิษณุโลก 
กำหนดการ
เวทีสัมมนาผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ ระดับภูมิภาค
วันที่ ๓ – ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
ณ โรงแรมท็อปแลนด์ จ.พิษณุโลก
-----------------------------
วันที่ ๓ พฤศจิกายน  ๒๕๕๕
๐๙.๐๐ – ๐๙.๓๐ น.   - ลงทะเบียน
๐๙.๓๐ – ๐๙.๔๕ น. - พิธีเปิดโดย กสทช.สุภิญญา กลางณรงค์
๐๙.๔๕ – ๑๐.๐๐ น. - กิจกรรมสัมพันธ์ / แนะนำตัว  โดย วิทยากรพื้นที่
๑๐.๐๐ – ๑๐.๓๐ น. - อุ่นเครื่อง / ระดมความคิด ผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์
                          ประเด็น บทบาทสื่อ / ผลกระทบของสื่อในพื้นที่โดย วิทยากรพื้นที่
๑๐.๓๐ – ๑๐.๓๕ น. - VTR กสทช.
๑๐.๓๕ – ๑๐.๔๐ น. - สรุปงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ โดย ประธาน                    
                                                   อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการ 
                                                   โทรทัศน์ (นางสุวรรณา จิตประภัสสร์)
๑๐.๔๐ – ๑๑.๔๐ น. - แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้แทนคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ
                                                  ๑. สถานการณ์สื่อวิทยุ-โทรทัศน์ (การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสื่อ /       
                                                  สื่อใหม่ / การหลอมรวมสื่อ) 
                          ๒. ผลกระทบของสื่อและสิทธิของผู้บริโภคในทุกมิติ 
                                                   ๓. แนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ และบทบาท    
                                                   ของ กสทช.
                                                   ดำเนินการอภิปรายโดย คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้าน                
                                                   กิจการกระจายเสียง  และกิจการโทรทัศน์ ใน กสทช. 
๑๑.๔๐ – ๑๒.๐๐ น. - เปิดอภิปราย
๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. - รับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.   - กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ “ถอดรหัสเพื่อรู้เท่าทันสื่อวิทยุ-โทรทัศน์”
                                                  ๑. รู้ทันโฆษณา (อาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพและการเกษตร)
                                                  ๒. รู้ทันรายการขายความเชื่อ 
                                                  ๓. รู้ทันโฆษณาแฝงและรายการเด็ก
                                                  ๔. รู้ทันความรุนแรงในละคร / ข่าว
                                                                                                       โดย อ.วีระพงษ์ ทวีศักดิ์
                                                   (รับประทานอาหารว่างในห้องประชุม)
๑๖.๓๐ – ๑๗.๐๐ น.           - สรุปการประชุม
                                                นำกระบวนการโดย คณะอนุกรรมการฯ
๑๘.๐๐ – ๑๙.๐๐ น. - รับประทานอาหารเย็น                                 
๑๙.๐๐ – ๒๑.๐๐ น. - กิจกรรมส่งเสริมการสร้างเครือข่ายผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์
                                                                                                         โดย อ.วีระพงษ์ ทวีศักดิ์
วันที่ ๔ พฤศจิกายน. ๒๕๕๕
๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น. - ลงทะเบียน
๐๙.๐๐ – ๑๐.๔๐ น. - การระดมความคิดเห็น (๔ สถานี)
                                                  ๑. ในพื้นที่ของท่านมีปัญหารุนแรงด้านสื่อวิทยุ-โทรทัศน์อะไรบ้าง   
                                                  และปัญหานั้นๆ ส่งผลกระทบต่อคนกลุ่มใดบ้างและอย่างไร
                                                  ๒. ทำอย่างไรประชาชนและผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์จึงจะตื่นตัว  
                                                  เข้าใจในสิทธิของตน ช่วยกันตรวจสอบการทำหน้าที่ของสื่อได้
                                                  ๓. ทำอย่างไรจึงจะสร้างกลุ่มเฝ้าระวังสื่อวิทยุ-โทรทัศน์และเรียก           
                                                  ร้องสิทธิผ่านกลไกของ กสทช. และกลไกต่างๆ ได้
                                                  ๔. จะสร้างเครือข่ายผู้บริโภคสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ให้เข้มแข็ง               
                                                   ได้อย่างไร
                                                   นำกระบวนการโดย นายประสาร มฤคพิทักษ์
                                          ดำเนินการในกลุ่มโดย คณะอนุกรรมการฯ / วิทยากรในพื้นที่
๑๐.๔๐ – ๑๑.๐๐ น. - รับประทานอาหารว่าง
๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๐ น. - นำเสนอผลงานกลุ่ม (กลุ่มละ ๑๐ นาที)
๑๑.๔๐ – ๑๒.๓๐ น. - แลกเปลี่ยนกลไกและกระบวนการเพิ่มพลังเครือข่ายผู้บริโภคสื่อฯ
                        - สรุปทิศทางการทำงานร่วมกัน
                                                                                 โดย คณะอนุกรรมการฯ
๑๒.๓๐ น. - ปิดการสัมมนา / รับประทานอาหารกลางวัน

-------------------------------------


กระเป๋าสตางค์ยาวหนังขนเกรียน-ถักเขบ็ดขอบ

กระเป๋าสตางค์ยาวหนังขนเกรียน-ถักเขบ็ดขอบ



เซตนี้ด้านในเป็นหนังฟอกฝาดปั่น สีธรรมชาติ


วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

มูลนิธิผาแดงฯ เปิดโครงการ “รวมพลังก่อการดี”

มูลนิธิผาแดงฯ เปิดโครงการ “รวมพลังก่อการดี” :  มูลนิธิผาแดงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ร่วมกับกิ่งกาชาดอำเภอแม่สอดและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่สอด เปิดโครงการ “รวมพลังก่อการดี” โดยดำเนินกิจกรรมนำร่องบรรเทาทุกข์ให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นและมอบถุงยังชีพแก่ผู้ป่วย ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสจำนวน 30 ราย ในพื้นที่ตำบลแม่กุ แม่ตาวและพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา


ด.ต.สมพร บุญคง นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลอุ้มผาง ถนนคนเดิน แผ่นดินดอยลอยฟ้า

ด.ต.สมพร บุญคง นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลอุ้มผาง กล่าวว่า เทศบาลอุ้มผาง ได้จัดกิจกรรม โครงการจำหน่ายสินค้า ถนนคนเดิน ดอยลอยฟ้า เพื่อส่งเสริมเทศกาลส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนชาวอุ้มผาง ในระหว่างเดือน ตุลาคม 2555 -กุมภาพันธ์ 2556 จึงได้จัดการประชุมคณะกรรมชุมชน ประธานชุมชน และตัวแทนผู้ประกอบการร้านค้าต่างๆ วันที่ 12 ตุลาคม 2555 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลอุ้มผาง รายงานข่าวบรรยากาศการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลรับลมหนาวที่จังหวัดตากว่า บรรยากาศช่วงนี้ นักท่องเที่ยวจำนวนมากจากทั่วประเทศต่างเดินทางขึ้นภาคเหนือเพื่อสัมผัสอากาสหนาว แต่ก็ยังมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยนักท่องเที่ยว ได้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวน้ำตกทีลอซู อ.อุ้มผาง จ.ตาก ซึ่งถือว่าเป็นอำเภอที่อยู่บนความสูงเทียมเมฆ จนได้ชื่อว่า "แผ่นดินดอยลอยฟ้า" และยังอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง และเป็นน้ำตกที่สวยงามที่สุดติดอันดับ 6 ของโลก โดยนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาตินิยม ชื่นชอบมาสัมผัสมนต์เสน่ห์ของทีลอซู โดยบางส่วนที่ชอบผจญภัยก็จะพากันนั่งแพยางลุยแม่น้ำแม่กลอง ขณะที่ที่พักทั้งภาครัฐและเอกชนถูกจอง นอกจากนี้ยังมีบางส่วนที่ชอบธรรมชาติพากันกางเต็นท์ท่ามกลางอากาศที่สบาย ๆ ด.ต.สมพร บุญคง นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลอุ้มผาง เตือนนักท่องเที่ยว ที่จะเดินทางมาน้ำตกทีลอซูให้ระมัดระวังกลุ่มมิจฉาชีพที่แฝงมากับนักท่องเที่ยวและระวังบุตรหลานที่จะลงเล่นน้ำตกทีลอซูเนื่องจากน้ำมีความเชี่ยวและลึก ควรจะมีชูชีพป้องกันอันตรายจากการลงเล่นน้ำ การเดินทางให้ระมัดระวังเนื่องจากเส้นทางคับแคบ คดเคี้ยว เนื่องจากเป็นภูเขาสูง การจราจรคับคั่งในช่วงเทศกาล ควรตรวจตราระบบเบรก ลมยาง และสภาพเครื่องยนต์ ให้อยู่ในลักษณะพร้อมใช้งาน รวมทั้งมาเที่ยวน้ำตกทีลอซูควรรักษาความสะอาดไม่ทิ้งขยะในบริเวณอุทยานแห่งชาติเพื่อเป็นการช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติให้สวยงามตลอดไปอีกด้วย


นายกฝอ จัดโครงการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รับ AEC

นายกฝอ จัดโครงการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รับ AEC

นายเทอดเกียรติ ชินสรนันท์ หรือนายกฝอ  นายกเทศมนตรีนครแม่สอด จังหวัดตาก เป็นประธานการประชุมผู้บริหาร-สมาชิกสภาเทศบาลฯหัวหน้าส่วนการงาน-และคณะครู อาจารย์ ที่สอนภาษาต่างประเทศและผู้นำชุมชน ที่ห้องโกเมน เทศบาลนครแม่สอด  ทั้งนี้เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเพื่อให้ทุกฝ่ายได้เตรียมความพร้อมในการจัดโครงการ การเรียน-การสอน ภาษา อังกฤษ-พม่า-กะเหรี่ยง-และอื่นๆ เช่นภาษาจีน เพื่อให้คณะผู้บริหาร-สมาชิก-ข้าราชการพนักงานและประชาชนชาวชุมชนในเขตเทศบาลนครแม่สอด ได้เรียนรู้ภาษาต่างชาติเพื่อรองรับการที่ อ.แม่สอด จะเป็นเมืองเศรษฐกิจ-การค้า-การท่องเที่ยวชายแดนไทย-พม่า ที่จะเป็นประตูสำคัญของการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC

นายกฝอ กล่าวว่า เพื่อรองรับการเป็นประตู AEC ทำให้เราต้องพัฒนาบุคลากรข้าราชการ-พนักงานของท้องถิ่นและประชาชน เพื่อให้ทันต่อการพัฒนานครแม่สอด  โดยให้ได้มีการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่สำคัญและจะต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งภาษาอังกฤษ-พม่า-ภาษาท้องถิ่นกะเหรี่ยง รวมไปถึงภาษาที่นิยมใช้คือภาษาจีน เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นที่จะนำภาษาที่เรียนรู้นำไปสื่อกับชาวต่างชาติ เพื่อประโยชน์ทั้งด้านการพัฒนาความสัมพันธ์-การทำการค้าชายแดนและการท่องเที่ยว นำไปสู่การสร้างรายได้และเศรษฐกิจของตัวเอง ในการประกอบอาชีพในทุกสาขา สำหรับการเปิดโครงการการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศนั้น เทศบาลนครแม่สอดจะให้คณะครู-อาจารย์ ที่สอนภาษาต่างประเทศมาทำการสอนให้โดยกำหนดตารางเวลา เพื่อให้สื่อภาษาต่างๆได้ โดยผู้เข้าอบรมจะสามารถสื่อภาษาต่างๆได้ เป็นการนำไปสู่การทำธุรกิจกับชาวต่างชาติหลังเปิด AEC ทั้งด้านการเจรจาการค้า-การทำธุรกิจท่องเที่ยวและอื่นๆมากมาย
////////////////////////
หนังสือพิมพ์บ้านเรา
 E-mail : pollarchar@hotmail.com  (ส่งข่าว)
Facebook / หนังสือพิมพ์บ้านเรา จังหวัดตาก
YadaDesign/ร้านญาดาดีไซน์ ทำป้ายและสิ่งพิมพ์ทุกชนิด
อยู่เหนือเรือน จำจังหวัดตาก (ผู้ทำแบบส่งพิมพ์ / เผยแพร่ / ประชาสัมพันธ์) หนังสือพิมพ์บ้านเรา
ผู้ดูแล Facebook / หนังสือพิมพ์บ้านเรา และเว็บบล็อกหนังสือพิมพ์บ้านเรา http://newstak.blogspot.com/
081 7279759
รับทำเว็บบล็อก และ แฟนเพจเฟสบุ๊ค

นายกฝอ แข่งฟุตบอล VIP วันสถาปนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เทศบาลนครแม่สอด

นายกฝอ แข่งฟุตบอล VIP วันสถาปนา สตช.

ผู้พิพากษา-อัยการ-นายกเทศมนตรีนครแม่สอด-ทหาร ร่วมแข่งขันฟุตบอลกับผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรแม่สอด ในวันสถาปนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ในวันสถาปนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ วันที่ 17 ตุลาคม 2555 นายชวณัฐ บุญลาภ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดแม่สอด-ผู้แทนสำนักงานอัยการจังหวัดแม่สอด- นายเทอดเกียรติ ชินสรนันท์ หรือนายกฝอ นายกเทศมนตรีนครแม่สอด จังหวัดตาก -พ.อ.ประสาน เหมสิริ เสนาธิการหน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารราบที่ 4 แม่สอด-นายสุชาติ แก้วอ้น ผู้บัญชาการเรือนจำอำเภอแม่สอด พร้อมคณะผู้บริหารเทศบาลนครแม่สอด เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลอาวุโส VIP นัดกระชับมิตรกับทีมสถานีตำรวจภูธรอำเภอแม่สอด นำทีมโดย พ.ต.อ.เอกราษฎร์ อินทร์ต๊ะสืบ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรแม่สอด-พ.ต.ท.สุพจน์ นวรัตนารมณ์ รองผู้กำกับสืบสวน-พ.ต.ท.ไพโรจน์ โนรี รองผู้กำกับปราบปราม-พ.ต.ท.จิระศักดิ์ ศรีธรรม รองผู้กำกับสอบสวน และนายตำรวจและตำรวจอาวุโสสถานีตำรวจภูธรแม่สอด เนื่องในวันสถาปนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 17 ต.ค. ที่สนามกีฬาเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทศบาลนครแม่สอด จังหวัดตาก โดยบรรยากาศการแข่งขันเป็นไปอย่างสนุกสนานและมีมิตรภาพระหว่างผู้นำหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งผู้พิพากษา-อัยการ-ตำรวจ-ทหาร-เรือนจำและเทศบาลนครแม่สอด

โดยผลการแข่งขันเมื่อหมดเวลาการแข่งขันปรากฏว่าทั้ง 2 ทีมเสมอกันไป 2 ประตู ต่อ 2 และมีการยิงลูกที่จุดโทษ เพื่อสร้างมิตรภาพและรอยยิ้ม โดยในทุกๆปี นั้น สถานีตำรวจภูธรแม่สอด จะจัดการแข่งขันฟุตบอลในวันกรมตำรวจและวันสถาปนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อสร้างความรักความสามัคคีระหว่างตำรวจกับตำรวจและตำรวจกับหน่วยงานทุกหน่วยงานในพื้นที่ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพอีกด้วย


หนังสือพิมพ์บ้านเรา
 E-mail : pollarchar@hotmail.com  (ส่งข่าว)
Facebook / หนังสือพิมพ์บ้านเรา จังหวัดตาก
YadaDesign/ร้านญาดาดีไซน์ ทำป้ายและสิ่งพิมพ์ทุกชนิด
อยู่เหนือเรือน จำจังหวัดตาก (ผู้ทำแบบส่งพิมพ์ / เผยแพร่ / ประชาสัมพันธ์) หนังสือพิมพ์บ้านเรา
ผู้ดูแล Facebook / หนังสือพิมพ์บ้านเรา และเว็บบล็อกหนังสือพิมพ์บ้านเรา http://newstak.blogspot.com/
081 7279759
รับทำเว็บบล็อก และ แฟนเพจเฟสบุ๊ค