คลิ๊กชมภาพต่อที่นี่
นายลำพูน
มนัยนิล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่ามะม่วง กล่าวว่า วันที่ 15 พฤษภาคม
2556 ได้นำผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลป่ามะม่วง
ปล่อยปลาลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ บริเวณอ่างเก็บน้ำแม่ท้อ
และสระน้ำสาธารณะในตำบลป่ามะม่วง
ตามแนวทางการบริหารจัดการชุมชนแบบยั่งยืน
โดยการสร้างความรู้ความเข้าใจกับชุมชน
ส่งเสริมสนับสนุน
และการบริหารจัดการต่างๆ
เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตและจัดการทรัพยากรธรรมชาติด้านต่างๆ ในท้องถิ่นอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาและส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ของชุมชน เพื่ออนุรักษ์พันธุ์ปลาท้องถิ่น ในแหล่งเศรษฐกิจของชุมชน โดยเทศบาลตำบลป่ามะม่วง
จัดสรรและสนับสนุนพันธุ์ปลาเพื่อใช้เลี้ยงปล่อยในสระน้ำสาธารณะภายในเขตพื้นที่ของตำบล ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบดูแลของชุมชนและหมู่บ้าน จึงได้จัดทำโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง
ตำบลป่ามะม่วง
เพื่อพัฒนาการทำประมงเชิงอนุรักษ์
เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีการพัฒนาการทำประมงเชิงอนุรักษ์
ขยายพันธุ์ปลาในสระน้ำสาธารณะภายในเขตตำบลป่ามะม่วง
เพื่อประสานการดำเนินงานร่วมกันระหว่างตำบลป่ามะม่วง
กับหมู่บ้านชุมชนอย่างต่อเนื่อง
และเน้นการบริหารจัดการของชุมชนเป็นสำคัญ ส่งเสริมและสนับสนุนพันธุ์ปลาเลี้ยงปล่อยในสระน้ำสาธารณะภายในตำบลเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารปลาอนุรักษ์ในแต่ละหมู่บ้าน
และเน้นกิจกรรมด้านการประมงในแหล่งน้ำสาธารณะในพื้นที่ เมื่อมนุษย์มีความสัมพันธ์กันและเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน
มนุษย์ก็จะรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่ม สร้างบ้านเรือนแหล่งที่อยู่อาศัย
ทำไร่ทำนาเลี้ยงสัตว์ มีกิจกรรมร่วมกัน และมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
การรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มในลักษณะนี้เรียกว่าชุมนุมชน ภายหลังจากที่มนุษย์รวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่ม
โดยเลือกสถานที่ตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยแล้ว มนุษย์ก็ได้เริ่มจัดการกับสิ่งต่าง ๆ
ที่อยู่รอบ ๆ ตัวมนุษย์ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการดำรงชีพ ความสะดวกสบาย
ในความเป็นอยู่และความปลอดภัยในชีวิต สิ่งรอบ ๆ ตัวที่มนุษย์เข้าไปจัดการนั้น
บางครั้งมนุษย์แสวงหามาเอง บางครั้งสร้างให้มันเกิดขึ้น และบางครั้งก็ตกแต่ง
ดัดแปลงปรับปรุง และใช้ธรรมชาติที่เกิดขึ้นอยู่เองนั้น
ในลักษณะที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของชุมชน สิ่งต่าง ๆ
ที่อยู่ล้อมรอบตัวมนุษย์ภายในบริเวณชุมนุมชนมีทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาไว้ในชุมชน รวมเรียกกันว่า
"สิ่งแวดล้อมชุมชน" อาจจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้
อาจจะเป็นสิ่งที่มีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้แต่ทุกอย่างจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องต่อเนื่องกันเป็นวงจรสิ่งแวดล้อมในชุมนุมอาจแบ่งออกได้เป็น
2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ 1. สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ได้แก่ อากาศ แม่น้ำ
ลำคลอง ทะเลสาบ มหาสมุทร พื้น ดิน แร่ธาตุ ภูเขา ป่าไม้และสัตว์อื่น ๆ เป็นต้น 2.
สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ บ้านเรือน โรงเรียน ถนน รถยนต์
เขื่อนเก็บน้ำ ตลอด จนขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจและสังคมด้วย สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นชุมชน
โดยมีขนบธรรมเนียบประเพณี
ระบบเศรษฐกิจและสังคมที่มนุษย์สร้างขึ้นและข้อจำกัดทางธรรมชาติเป็นกฎเกณฑ์และเป็นหลักสำหรับการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน
เพื่อให้เกิดการดำรงชีวิตอย่างผาสุกและเสริมสร้างคุณภาพแห่งชีวิต ในแต่ละชุมชนก็จะมีสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ
ดินฟ้าอากาศ ทัศนคติ และนิสัยใจคอของผู้คนที่อยู่อาศัยในชุมชนด้วย เช่น
บางแห่งอาจอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้
บางแห่งอาจมีความกว้างใหญ่ไพศาลของทะเลและบางแห่งก็สลับซับซ้อนด้วยทิวเทือกเขา
มีภูเขามาก สิ่งแวดล้อมในบางแห่งเหมาะที่จะใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
บางแห่งก็เหมาะที่จะใช้ทำการเกษตรกรรม เป็นต้น
ซึ่งแต่ละชุมชนต่างได้รับประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันไป
ตามลักษณะของสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่
และโดยความเป็นจริงแล้วสิ่งแวดล้อมได้ให้ประโยชน์แก่คนในชุมชนนั้นอย่างมากมายมหาศาล
เราใช้สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิต เป็นปัจจัยในการประกอบอาชีพ
ให้เป็นกฎเกณฑ์และแนวทางในการดำเนินวิถีชีวิตของสังคม ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ
เป็นแหล่งรวมของความสวยงามตามธรรมชาติ
และเป็นแหล่งที่เราสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจในเรื่องธรรมชาติได้มนุษย์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสิ่งแวดล้อมในชุมชนได้อาศัยและใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมในการอยู่รอดของชีวิต
มนุษย์มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ
ดังนั้นการกระทำของมนุษย์จึงมีผลกระทบกระเทือนต่อสิ่งแวดล้อม
ต่อความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่เราเรียกกันว่าระบบนิเวศวิทยา
ผลกระทบกระเทือนนั้นเป็นไปได้ทั้งในทางสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
หรือในทางทำลายให้เลวลง ผลกระทบกระเทือนนี้เกิดขึ้นทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
มีมากบ้างน้อยบ้างตัวอย่างง่าย ๆ ที่ชี้ให้เห็นถึงการกระทำที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
เช่น ถ้าเราต้องการรับประทานอาหาร เราต้องเอาพืช ผลไม้
จากในป่าหรือต้องใช้ที่ดินเพาะปลูก ถ้าเราต้องการสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
ก็จำเป็นต้องตัดต้นไม้ในป่าเอามาสร้างบ้านจะทำให้จำนวนต้นไม้ ป่าไม้ ลดลง
และถ้าลดลงมาก ๆ จะทำให้ธรรมชาติเสียความสมดุล
ความสัมพันธ์ในระหว่างสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไป ฝนอาจจะตกน้อยจนทำให้แห้งแล้ง
หรืออาจจะเกิดน้ำท่วมได้ เพราะไม่มีป่าไม้ที่ช่วยทำให้น้ำถูกดูดซึมซับอยู่ใต้ดิน
ในขณะเดียวกันถ้าเราช่วยกันปลูกต้นไม้
ไม่ว่าจะต้นเล็กหรือต้นใหญ่ก็ตามจะช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมในชุมชนของเราดีขึ้น
จะมีต้นไม้เขียวชอุ่มมาก ป่าไม้ก็อุดมสมบูรณ์ ซึ่งก็มีส่วนทำให้ฝนตก ไม่แห้งแล้ง
และยังช่วยไม่ให้เกิดน้ำท่วมได้
เพราะน้ำจะถูกดูดซึมไว้ในป่าและถูกปล่อยให้เราได้ใช้กันตลอดทั้งปี
ด้วยวิถีทางธรรมชาติ ต้นไม้ยังช่วยทำให้อากาศบริสุทธิ์ด้วย เพราะในเวลากลางวันต้นไม้จะหายใจเอาก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์
และคายก๊าซอ๊อกซิเจนออกมา ซึ่งเป็นก๊าซที่มนุษย์เราต้องการในการหายใจ นอกจากนี้
ต้นไม้ยังช่วยทำให้บ้านเมืองและชุมชนมีความสวยงามร่มเย็นน่าอยู่อาศัยมากขึ้น ไม่ว่ามนุษย์จะอยู่
ณ ที่แห่งใด จะตั้งชุมชนใหญ่หรือเล็กก็ตาม
ตราบใดที่มนุษย์ยังต้องอาศัยพึ่งพาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว
ก็ย่อมจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมได้
แม้ว่าจะมีมนุษย์อยู่เพียงคนเดียวในโลก สิ่งแวดล้อมก็ถูกทำลายได้เหมือนกัน
เป็นต้นว่า มนุษย์เก็บเกี่ยวเอาพืชพันธุ์ไม้และล่าสัตว์เป็นอาหาร ตัดไม้ในป่าเอามาสร้างที่อยู่อาศัยและทำเชื้อเพลิงและมนุษย์ก็ยังขับถ่ายของเสียลงสู่สิ่งแวดล้อม
แต่มนุษย์เพียงคนเดียวก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมไม่มากนัก
แต่เมื่อใดก็ตามที่มีมนุษย์มากขึ้น
ความต้องการใช้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็มากขึ้นตามไปด้วย เพราะแต่ละคนต่างก็มีส่วนในการทำลายสิ่งแวดล้อมคนละมากบ้างน้อยบ้าง
เมื่อรวมทั้งหมดแล้วสิ่งแวดล้อมในชุมชนจะถูกทำลายอย่างมาก
และปรากฎให้เห็นอย่างเด่นชัด ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยี
ก็เป็นปัจจัยอีกตัวหนึ่งที่ช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วจากการที่เรามุ่งพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
ขยายการก่อสร้าง ปัจจัยพื้นฐานแห่งการพัฒนา เช่น ถนน เขื่อน สนามบิน ท่าเรือ ฯลฯ
เร่งผลิตสินค้าและบริการให้ทันกับความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละชุมชนจึงถูกนำมาใช้กับวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นจำนวนมาก
จากขบวนการพัฒนาและการผลิตทำให้มีของเสียเหลือทิ้งออกมาในรูปต่าง ๆ
เจือปนอยู่กับสิ่งแวดล้อมในชุมชน ความสมดุลในธรรมชาติก็เสียไป เมื่อสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย
มีของเสียปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก
สิ่งแวดล้อมก็จะอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมและอาจจะรุนแรงจนถึงขั้นเป็นพิษเป็นภัยได้
ผลกระทบจะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับกิจกรรมและการขยายตัวของกิจกรรมนั้น ๆ
ผลของสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและเป็นพิษก็จะตกอยู่แก่มนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
ในชุมชน ปัญหาสิ่งแวดล้อมเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะผูกพันเชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่
เพราะสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กัน
สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและเป็นพิษจะมีผลโดยตรงต่อสุขภาพและอนามัยของมนุษย์
เพราะสภาพสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติจะเปลี่ยนแปลง
ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการดำรงชีวิตอีกต่อไป
นอกจากนี้ก็ยังมีผลกระทบกระเทือนต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่หยุดยั้ง
และถ้าใช้อย่างไม่ระมัดระวังแล้ว ทรัพยากรธรรมชาติก็จะสูญสิ้นลงอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม
ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันนี้ มิได้เกิดขึ้นกับแม่น้ำ อากาศ สารเคมี
และสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติอื่น ๆ เท่านั้น
แต่ยังมีปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในรูปปัญหาทางสังคมอีก
ทุกวันนี้เราจะเห็นได้ว่าลักษณะนิสัยใจคอ ความเป็นอยู่ของคนในชุมชน
ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนบ้าน ความสามัคคีในชุมชนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ทั้งนี้
อาจจะเนื่องมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจภายในครอบครัว ความยากจน
การเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ การคมนาคม ติดต่อสื่อสารกับสังคมภายนอก
ตลอดจนการรับเอาวัฒนธรรมและแนวความคิดจากที่อื่น ๆ มามาก
ภายในชุมชนของเราจึงเปลี่ยนแปลงไป ความมีระเบียบ การรักษาหน้าที่ความรับผิดชอบ
การปฏิบัติตามกฏเกณฑ์จึงหย่อนคลายลง ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น
ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขอย่างรีบด่วนและถูกวิธีแล้วปัญหาต่าง ๆ
จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในชุมชนนั้น
จะต้องเลือกใช้หลักวิชาการที่ผสมผสานได้กับลักษณะนิสัย ทัศนคติ ขนบธรรมเนียม
ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนในชุมชนด้วย
จะต้องเป็นที่ยอมรับและไม่ถูกโต้แย้งจากคนในชุมชนนั้น ๆสิ่งแวดล้อมบางอย่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
คนทุกคนในชุมชนเป็นเจ้าของและมีสิทธิที่จะใช้ได้
เราทุกคนก็ควรที่จะมีหน้าที่ดูแลรักษาและแก้ไขให้สภาพแวดล้อมในชุมชนดีขึ้น
แม้ว่ารัฐบาลจะมีหน้าที่โดยตรงในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมก็ตาม
แต่การดำเนินงานอาจมีอุปสรรคบ้าง ล่าช้าบ้าง
ถ้าคนในชุมชนไม่ให้ความร่วมมือช่วยเหลือ
ทุกคนควรจะถือว่าสิ่งแวดล้อมทั้งหลายเป็นทรัพย์สมบัติของชาติ
และถือเอาเป็นความรับผิดชอบและหน้าที่ของตัวเองที่มีต่อชุมนุม
ในอันที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่ดีมีคุณภาพ เพื่อคนทุกคนในชุมชน
เพื่อส่วนรวม เพื่อตัวเอง และครอบครัว
และเพื่ออนุชนรุ่นหลังที่จะได้มีโอกาสพึ่งพาอาศัยและใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อไปในวันข้างหน้า
ถ้าสมาชิกในชุมชนทุกคนสำนึกในหน้าที่ของตนเองที่มีต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชน
ยอมเสียสละเล็ก ๆ น้อย ๆ คำนึงถึงแต่ประโยชน์ของชุมชนส่วนรวมเป็นข้อใหญ่แล้ว
อีกไม่ช้าไม่นานภายในชุมชนก็จะมีแต่สภาพแวดล้อมที่ดี
สภาพสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้คนทุกคนดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสุข ความปลอดภัยในชีวิต
มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรง ชุมชนก็จะมีแต่สมาชิกที่ดีมีคุณภาพ
เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติตลอดไป
ติดต่อลงโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ในบล็อก โทร. 081 727 9759
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น