วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ตาก-พ่อเมืองตาก ในฐานะ ผู้อำนวยการ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(กอ.รมน.)ตาก สั่ง ตรวจสอบชาวโรฮิงยา ในพื้นที่

ตาก-พ่อเมืองตาก ในฐานะ ผู้อำนวยการ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(กอ.รมน.)ตาก สั่ง ตรวจสอบชาวโรฮิงยา ในพื้นที่พักพิงผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบ ศูนย์อพยพบ้านอุ้มเปี้ยม  อ.พบพระ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์

นายสมชัยฐ์ หทยะตันย์คิ ผู้ว่าราชการจังหวัดตากและผ็อำนวยการรักษษความมั่นคงภายใน(กอ.รมน.)จังหวัดตาก  สั่งการให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อ.พบพระ จังหวัดตาก ได้เข้าไปตรวจสอบบริเวณพื้นที่พักพิงผู้หลบหนีภัยจากการส็รบบ้านอุ้มเปี้ยม อ.แม่สอด จ.ตาก และได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมการมุสลิม ที่ดูแลเกี่ยวกับกลุ่มมุสลิมเชื้อสายโรฮิงยา ที่อาศัยในพื้นที่พักพิงบ้านอุ้มเปี้ยม ทั้งนี้ เพื่อเน้นย้ำมาตรการการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์เฉพาะกลุ่มนี้อีกครั้ง หลังจากที่ได้ประชุมแนวทางแก้ไขกันไปแล้วเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2558  จากการเข้าไปตรวจสอบพบข้อมูลจากการสำรวจจำนวนผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบในพื้นที่พักพิงหรือศูนย์อพยพบ้านอุ้มเปี้ยมร่วมกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR  ปรากฎว่ามีกลุ่มผู้อพยพชาวมุสลิมเชื้อสายโรฮิงยา จำนวน 98 ราย มีสถานะเป็นผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบจำนวน 81 รายและได้รับการช่วยเหลือจากองค์กรพัฒนาเอกชนนานาชาติ  NGO  17 ราย แต่จากการประชุมคณะกรรมการพื้นที่พักพิงศูนย์อพยพบ้านอุ้มเปี้ยม พบว่ามีผู้ที่ยอมรับว่ามีเชื้อสายโรฮิงยา จำนวน 30 ราย เนื่องจากในกลุ่มโรฮิงยา นี้เดินทางเข้ามาใน พื้นที่ระหว่างปี  พ.ศ.2548  ถึง  ปี พ.ศ. 2558 เหตุที่ตัวเลขไม่ตรงกับการสำรวจ เกิดจากเจ้าหน้าที่มีการตรวจสอบที่ยังไม่ได้ข้อมูลที่แท้จริงยังไม่ถูกต้อง เพราะส่วนหนึ่งที่ผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบเชื้อสายมุสลิมส่วนมากเดินทางมาจากรัฐกะเหรี่ยง และเรียกตัวเองว่ามุสลิมกะเหรี่ยง  เป็นมุสลิมชาวพม่า  โดยไม่ให้เรียกกลุ่มตัวเองว่าโรฮิงยา  เพราะภาษาพูดและแหล่งที่มาไม่เหมือนกัน สรุปที่ประชุมได้ให้คณะกรรมการฯ.จะเร่งได้ดำเนินการส่งข้อมูลการเข้าไปตรวจสอบและสำรวจชาวโรฮิงยาในศูนย์อพยพบ้านอุ้มเปี้ยมภายในวันนี้ ( 12 พฤษภาคม 2558) โดยการดำเนินการดำเนินการที่เข้าไปตรวจสอบและสำรวจชาวโรฮิงยา คือ

1.จัดทำข้อมูลผู้ที่ยอมรับเป็นโรฮิงยา ใหม่ทั้งหมดว่ามีจำนวนเท่าไหร่ อาศัยอยู่ใน พื้นที่หรือไม่

2.ข้อมูล ผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบ ที่เดินทางมาจากรัฐยะไข่ หรือบังคลาเทศ มีจำนวนเท่าใด

3.กลุ่มที่ทาง UNHCR จัดทำข้อมูลผิดพลาด โดยมีหลักฐานยืนยันจำนวนเท่าใด

ทั้งนี้เพื่อที่จะได้นำข้อมูลเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตากเพื่อให้ฝ่ายปกครองจังหวัดตากดำเนินการไปแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป และเพื่อเป็นการเร่งแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ และเป็นการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ตามนโยบายรัฐบาล ที่กำลังเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญเพราะมีการค้ามนุษย์ในกลุ่มชาวโรฮิงยาในพื้นที่ภาคใต้ ที่พบหลุมฝังศพและมีชาวโรฮิงยาถูกฆ่า ทำให้ต้องมีการสำรวจตรวจสอบทั่วประเทศ ซึ่งทางฝ่ายปกครองงจังหวัดตากก็ได้ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนตามคำสั่งและนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น