มหาดไทย เร่งช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้ง
ยืนยันรัฐ มีแผนบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ มีน้ำประปาพอใช้ พร้อมขอให้ประชาชนประหยัดน้ำ
พลเอก
อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ชี้แจงว่า
สถานการณ์ในขณะนี้มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยมีความห่วงใยอย่างยิ่งต่อผลกระทบขึ้นต่อพี่น้องประชาชน
ปัจจุบันมีจังหวัดที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน(ภัยแล้ง
18 จังหวัด รวม 68 อำเภอ 306 ตำบล 2580 หมู่บ้าน ) โดยกระทรวงมหาดไทยขอเรียนให้ทราบว่า
ที่ผ่านมาทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เตรียมการพยายามแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างเต็มที่ตามนโยบายของรัฐบาล
เพื่อบริหารจัดการน้ำต้นทุนทั้งหมดที่มีให้เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้ง และสามารถรักษาระบบนิเวศน์
แต่อาจไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนภาคเกษตรกรรมได้ตามปกติ เนื่องจากเรามีปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศอยู่ในเกณฑ์น้อย
โดยได้มีการว่างแผนบริหารจัดการน้ำ และให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัย
ดังนี้
ด้านการบริหารจัดการน้ำ
ได้สำรวจน้ำต้นทุนที่มีทั้งระบบในเขตชลประทาน นอกเขตชลประทาน
น้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล เพื่อวางแผนจัดสรรน้ำให้เพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้ง
ซึ่งสำคัญอันดับแรก คือ ประชาชนต้องมีน้ำอุปโภคบริโภค
โดยกระทรวงมหาดไทยได้เน้นย้ำให้การประปาส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง
วางมาตรการบริหารจัดการน้ำต้นทุนที่จะนำมาผลิตน้ำประปาให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี
2558 และมีการสำรวจแหล่งน้ำสำรองเพื่อเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ไว้ล่วงหน้าแล้ว
โดยได้ประสานงานกับกรมชลประทานอย่างใกล้ชิด
ซึ่งกรมชลประทานยืนยันพร้อมบริหารจัดการน้ำดิบส่งให้การประปา เพื่อผลิตน้ำประปาให้บริการประชาชนได้อย่างเพียงพอ
เป็นอันดับแรกตามนโยบายของรัฐบาล
จึงขอเรียนยืนยันให้ความมั่นใจว่าจะไม่ขาดแคลนน้ำประปาอย่างแน่นอน
นอกจากนี้ยังมีระบบ
ประปาหมู่บ้าน ที่อยู่ในความดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ซึ่งในปัจจุบันมีประปาหมู่บ้านเกือบทั่วประเทศแล้ว เหลืออีกประมาณ 1026
หมู่บ้านเท่าน้ำที่ยังไม่มี โดยในปีนี้กระทรวงมหาดไทย
ได้สนับสนุนงบประมาณก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน
เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคแก่ประชาชนไปแล้ว จำนวน 328 หมู่บ้าน
รวมถึงได้ดำเนินการซ่อมแซมบำรุงรักษาระบบประปาหมู่บ้านที่มีอยู่แล้วให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะต้องมีระบบประปาหมู่บ้านครบทุกหมู่บ้านในปี 2560
เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้ใช้น้ำอย่างสะดวกเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ
ในขณะเดียวกันก็ได้รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้คนไทยทุกคนช่วยกันประหยัดมาอย่างต่อเนื่องด้วย
ด้านการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เน้นการจัดสรรน้ำในพื้นที่ประสบภัยแล้งอย่างทั่วถึงเป็นอันดับแรก
และการใช้ประโยชน์จากน้ำทุกแหล่งให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
โดยใช้งบประมาณในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง แยกเป็น 2 ส่วน คือ
งบประมาณที่ใช้ในการยับยั้งหรือป้องภัยภัยพิบัติ วงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท
ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัด สามารถใช้จ่ายเงินได้โดยไม่ต้องประกาศเขตฯ
ในรูปแบบการจ้างงานประชาชน
การดำเนินกิจกรรมป้องกันและยับยั้งความเสียหายจากภัยพิบัติ
และงบประมาณเพื่อความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน วงเงิน 50 ล้านบาท
ซึ่งกรมบัญชีกลางได้ขยายวงเงินทดรองราชการในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด
เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน(ภัยแล้ง) เพิ่มเติมอีกจังหวัดละ 30
ล้านบาท จากเดิมจังหวัดละ 20 ล้านบาท รวมเป็น 50 ล้านบาท
โดยขยายให้ทุกจังหวัดครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อให้จังหวัดมีความคล่องตัวในการใช้จ่ายเงินเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในด้านต่างๆ
ทั้งด้านการดำรงชีพ การบรรเทาสาธารณภัย
การแพทย์ และการสาธารณสุข และการปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ
อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง
(กอปภ.ก.) ได้เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยแล้งที่มีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
โดยกำชับให้ทุกจังหวัดตรวจสอบปริมาณน้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะ
และแหล่งน้ำตามธรรมชาติในพื้นที่ พร้อมสำรวจจุดเสี่ยงที่ประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก
เพื่อวางแผนรับมือและจัดสรรน้ำให้เพียงพอต่อการใช้งาน
กรณีแหล่งน้ำสำรองไม่เพียงพอเน้นการจัดหาน้ำสนับสนุนเพิ่มเติมด้วยการนำน้ำใต้ดินมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ
การสูบน้ำสนับสนุนแหล่งน้ำดิบ
พร้อมใช้รถบรรทุกน้ำจัดส่งน้ำให้กับพื้นที่ขาดแคลนน้ำ โดยแบ่งมอบพื้นที่ในการดูแลรับผิดชอบอย่างชัดเจน
ขณะนี้มีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
(ภัยแล้ง) จำนวน 18 จังหวัด
นอกจากนี้ให้ใช้กลไกของฝ่ายปกครอง ทั้งนายอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน
ร่วมกับหน่วยงานด้านความมั่นคงจัดชุดปฏิบัติการสำรวจเส้นทางการไหลของน้ำ
เพื่อป้องกันมิให้มีการปิดกั้นและลักลอบสูบน้ำนำไปใช้ผิดประเภทจนส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปาและน้ำในการผลักดันน้ำเค็ม
เกี่ยวกับปัญหาหมอกควันในจังหวัดภาคเหนือ ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล
สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า
ได้รับรายงานศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข
กรณีหมอกควันว่ามี 8 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง พะเยา น่าน
ตาก เชียงใหม่ และแพร่ มีค่าเฉลี่ยหมอกควันเกินมาตรฐาน 120
ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดเปิดศูนย์ปฏิบัติการฯ
กรณีหมอกควัน เพื่อติดตามและร่วมให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบหมอกควัน
รวมทั้งกำชับให้ความรู้คำแนะนำการดูแลสุขภาพแก่ประชาชน ที่น่าเป็นห่วงคือ 4
กลุ่มเสี่ยงที่อาจได้รับผลกระทบง่ายกว่าคนทั่วไป คือผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่
โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคถุงลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้สูงอายุ
เด็กเล็ก และหญิงตั้งครรภ์ ขอให้หลีกเลี่ยงออกนอกบ้าน งดการออกกำลังกายกลางแจ้ง
ทั้งนี้
กระทรวงสาธารณสุขได้สำรองหน้ากากอนามัยไว้ ทั้งหมด 980,000 ชิ้น และในวันนี้ได้จัดส่งหน้ากากอนามัยให้
8 จังหวัดภาคเหนือ จ.ราชบุรี และ จ.เพชรบุรี รวม 350,000 ชิ้น
สำรองไว้ที่ส่วนกลางอีก 630,000 ชิ้น พร้อมให้สถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่
เตรียมยาเวชภัณฑ์ที่จำเป็นให้บริการผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง
ภาพรวมผลกระทบด้านสุขภาพยังไม่พบประชาชนมีอาการรุนแรง พบป่วยใน 4 กลุ่มโรค
คือตาอักเสบ ผิวหนังอักเสบ โรคทางเดินหายใจ และโรคหัวใจและหลอดเลือด เข้ารับรักษา
ให้ทุกจังหวัดเฝ้าระวังและให้คำแนะนำประชาชนอย่างต่อเนื่อง ผ่านอาสาสมัครสาธารณสุข
และสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ท้องถิ่น
สำหรับการป้องกันผลกระทบสุขภาพจากหมอกควัน
ขอให้ปิดประตูหน้าต่างบ้านให้มิดชิด เพื่อลดความเสี่ยงการสัมผัสหมอกควัน
ควรทำความสะอาดบ้านสม่ำเสมอเพื่อลดปริมาณฝุ่นละออง
สวมหน้ากากอนามัยหรือใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ ปิดปากและจมูกและเปลี่ยนทุกวัน
และงดการทำกิจกรรมกลางแจ้งชั่วคราว เช่น ออกกำลังกาย เดินเล่น หรือทำงานหนัก
หากมีอาการผิดปกติ เช่น ไอ แน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม แสบตา ระคายคอ
กรณีของหญิงตั้งครรภ์หากลูกในครรภ์ไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลง
ให้รีบไปพบแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือโทรแจ้งที่หมายเลย 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง
สุรศักดิ์ พลอาชา / หนังสือพิมพ์บ้านเราจังหวัดตาก
*********************************************
ร้านญาดาดีไซน์
ทำป้ายและสิ่งพิมพ์ทุกชนิด
151/47 ต.วังหิน
อ.เมือง จ.ตาก 63000
*********************************************
รับทำแผ่นพับ ใบปลิว ป้ายไวนิล การ์ดต่างๆ
นามบัตร สิ่งพิมพ์ทุกชนิด ป้ายจังหวัดตาก รับถ่ายรูป ตามงานต่างๆ
รับออกแบบจัดงานอีเว้น รับออกแบบงานเปิดตัวสินค้า รับจัดงานสัมมนา
จังหวัดตากและใกล้เคียง รับทำสปอตโฆษณาสำหรับรถแห่ / บริการรถแห่ / สปอตภายในร้าน
และอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเสียงอีกมากมาย
TakStudio
รับถ่ายภาพ : ถ่ายพรีเวดดิ้ง ถ่ายภาพรับปริญญา
ถ่ายภาพงานบวช ถ่ายภาพงานแต่ง ถ่ายภาพงานพิธีต่าง ๆ
ติดต่อ : 081 727 9759AIS, 085 970 4921TRUE
E-mail : pollarchar@hotmail.com
ID line : takstudio
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น